เตรียมเอกสารกู้บ้าน ต้องเตรียมอะไรบ้าง?
1. เอกสารยืนยันตัวตน
เอกสารกลุ่มแรกที่ต้องเตรียม ไม่ว่าจะกู้ซื้อบ้านแบบไหน ทั้งสร้างบ้าน ซื้อบ้านใหม่ หรือบ้านมือสองก็ล้วนต้องใช้เอกสารกู้บ้านกลุ่มนี้ก็คือกลุ่มของการยืนยันตัวตนว่าคือคนที่จะขอสินเชื่อนี้คือใคร ทำอะไร และมีตัวตนจริงหรือไม่ ซึ่งประกอบไปด้วย- สำเนาบัตรประชาชน หากเป็นข้าราชการสามารถใช้สำเนาบัตรข้าราชการ หรือหากเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจก็ใช้สำเนาบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ ที่มีเลขที่ประจำตัวประชาชน และรูปถ่ายบนหน้าบัตรก็ได้นะครับ หากเป็นคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติก็สามารถใช้สำเนาหนังสือเดินทางพร้อมแนบสำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาทะเบียนบ้านที่เราอยู่อาศัยในปัจจุบัน
- สำเนาทะเบียนสมรส (ถ้ามี) หากแต่งงานแล้ว เราสามารถแนบสำเนาทะเบียนสมรสเพิ่มเติมได้ครับ แต่หากไม่มีก็ไม่เป็นอะไร
- สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี) ใครที่เคยเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลมา แนะนำว่าควรจะแนบเอกสารสำเนาใบเปลื่อนชื่อ-นามสกุลไปด้วยนะครับ แต่ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไรเช่นกัน
2. เอกสารยืนยันรายได้
เอกสารกู้บ้านมือสองกลุ่มต่อมาก็คือเอกสารที่สามารถยืนยันรายได้ของเราได้ว่ามีรายได้เท่าไร เพื่อให้ธนาคารพิจารณาว่าเราจะมีความสามารถในการกู้เท่าไร อย่างไรบ้าง เพราะถึงแม้ว่าเราจะซื้อบ้านมือสอง ความสามารถในการกู้ของเราก็ต้องดีไม่แพ้กับบ้านใหม่เช่นกันนะครับ ซึ่งเอกสารเกี่ยวกับรายได้จะแบ่งออกเป็นกลุ่มอาชีพหลักๆ ดังนี้
1. พนักงานประจำหรือผู้มีรายได้ประจำ
สำหรับพนักงานประจำที่มีเงินเดือนเข้าเป็นประจำหลักฐานทางการเงินที่จะต้องใช้ไม่มีอะไรยุ่งยากเลยครับเพียงแค่ 2 อย่างเท่านั้น
- หนังสือรับรองเงินเดือนหรือรายได้
- สลิปเงินเดือนตัวจริงย้อนหลัง 3 เดือน
- เอกสารการเดินบัญชีย้อนหลังหรือ Statement 6 เดือน
- หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ พร้อมตัวจริง เช่น สำเนาหลักฐานการปิดบัญชีหนี้เครดิตบูโร, หน้าสมุดบัญชีธนาคารที่เงินเดือนเข้า เป็นต้น
2. มีธุรกิจส่วนตัวหรือประกอบอาชีพอิสระ
สำหรับใครที่ประกอบธุรกิจส่วนตัวหรือประกอบอาชีพอิสระ ไม่มีเงินเดือนเข้าประจำ การเตรียมเอกสารกู้บ้าน อาจมีความยุ่งยากขึ้นมาหน่อย เพราะจะต้องเตรียมเยอะกว่าพนักงานประจำ โดยหลักๆ จะประกอบไปด้วย
- เอกสารการเดินบัญชีย้อนหลังหรือ Statement 12 เดือน (บัญชีส่วนตัว, บัญชีกิจการ)
- สำเนาทะเบียนการค้า/ทะเบียนพาณิชย์/ทะเบียนบริษัท/ทะเบียนนิติบุคคล, หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
- หลักฐานการเสียภาษีเงินได้ย้อนหลัง 1 ปี (ภงด.) รวมถึงบันทึกรายรับ-รายจ่าย, ใบเสร็จซื้อ-ใบเสร็จขายสินค้า
- ภาพถ่ายกิจการ 3-4 ใบ และแผนที่ตั้งกิจการโดยสังเขป
- สำเนาใบประกอบวิชาชีพ กรณีเป็นแพทย์, วิศวกร, ทนายความ, สถาปนิก
- หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ พร้อมตัวจริง
3. เอกสารหลักประกัน
และเอกสารกู้บ้านกลุ่มสุดท้ายคือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับบ้านมือสองที่เราจะซื้อครับว่า เป็นบ้านมือสองแบบไหน ตั้งอยู่ที่ใด มีราคาเท่าไร จะมีการต่อเติมตกแต่งหรือไม่ เป็นต้น ซึ่งสำหรับบ้านมือสองนั้นเราอาจยื่นกู้เพิ่มสำหรับรีโนเวททั้งต่อเติม ตกแต่ง หรือซ่อมแซมไปด้วยเคยครับ เนื่องจากบ้านมือสองส่วนใหญ่มักจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไม่น้อยเลยทีเดียว จึงแนะนำว่าควรจะยื่นกู้ไปพร้อมกันเลยครับ ซึ่งหลักๆ เอกสารกู้บ้านในกลุ่มเอกสารหลักประกันนั้นจะประกอบไปด้วย
1. ซื้อบ้านมือสองทั่วไป
หากเป็นการกู้ซื้อบ้านมือสองทั่วไปอย่างการติดต่อซื้อขายกันเอง ไม่ใช่บ้านรอการขายจากสถาบันการเงินต่างๆ เอกสารกู้บ้านจะต้องเตรียมคร่าวๆ ดังนี้
- หากเป็นการกู้ซื้อบ้านมือสองจะต้องมีสำเนาหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย/สัญญาวางมัดจำ/สัญญาเช่าซื้อการเคหะแห่งชาติ และหนังสือรับรองยอดคงเหลือ
- หากเป็นการไถ่ถอน จำนอง หรือเปลี่ยนคนผ่อนต่อให้นำสำเนาหนังสือสัญญากู้เงิน และสำเนาสัญญาจำนองกับสถาบันการเงินเดิม
- ใบเสร็จการผ่อนชำระหรือบัญชีหมุนเวียนย้อนหลัง 1 หรือ 2 ปี หากเป็นการไถ่ถอน จำนอง หรือเปลี่ยนคนผ่อนต่อ
- สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับกรมที่ดิน
- สำเนาโฉนดที่ดิน หรือ น.ส.3ก. หรือสำเนาหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อช.2) ทุกหน้า ซึ่งต้องได้รับการรับรองจากเจ้าพนักงานที่ดินจำนวน 2 ชุด อายุไม่เกิน 30 วัน นับจากวันที่ไปขอคัดรับรองสำเนาจากสำนักงานที่ดิน
- แผนที่ตั้งโดยสังเขป
- สำเนาบัตรประชาชนผู้มีกรรมสิทธิ์(ด้านหลังโฉนด) พร้อมเซ็นชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาทะเบียนบ้านผู้มีกรรมสิทธิ์(ด้านหลังโฉนด) พร้อมเซ็นชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
- หากต้องการต่อเติม ขยาย หรือซ่อมแซม ให้ยื่นใบอนุญาตปลูกสร้างหรือต่อเติมด้วย
ใบประมาณการปลูกสร้างหรือสัญญาว่าจ้างก่อสร้างในกรณีที่จะต่อเติม ขยาย หรือซ่อมแซม - แบบแปลนหรือพิมพ์เขียว
2. ซื้อบ้านหลุดจำนองของธนาคาร (NPA)
สำหรับเอกสารกู้ซื้อบ้าน NPA หรือบ้านรอการขายที่ราคาถูกมากๆ จากธนาคารนั้น เอกสารก็จะคล้ายๆ การซื้อบ้านมือสองทั่วไปครับ ซึ่งประกอบไปด้วย
- แบบฟอร์มแจ้งความประสงค์ซื้อทรัพย์สิน NPA และคำเสนอซื้อทรัพย์สิน NPA
- เงินประกันการซื้อทรัพย์ (แคชเชียร์เช็ค) มูลค่าตามประกาศของธนาคาร
- หากต้องการต่อเติม ขยาย หรือซ่อมแซม ให้ยื่นใบอนุญาตปลูกสร้างหรือต่อเติมด้วย
- ใบประมาณการปลูกสร้างหรือสัญญาว่าจ้างก่อสร้างในกรณีที่จะต่อเติม ขยาย หรือซ่อมแซม